ต้นฉบับจาก Thai PBS (C – Site Report) https://www.csitereport.com/#!/newsfeed?id=0000014499
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2563
นิวัติ ร้อยแก้ว หรือ ครูตี๋ กลุ่มรักษ์เชียงของ ร่วมแลกเปลี่ยน “ทางออกของปัญหาแม่น้ำโขงและภูมิภาคในมือประชาชน” ในงาน (สุด) สัปดาห์แม่โขง-อาเซียน 2563 Mekong – ASEAN Environmental Week (end) 2020 สิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย และชีวิตที่โยงใยกันในภูมิภาค วันที่ 27 กันยายน 2563 ห้อง Friend of BACC ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ “ครูตี๋” ได้ชี้ถึงความสำคัญของสร้างองค์กรให้กับภาคประชาชนในการเช้าไปต่อรองในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำซึ่งเป็นเรื่องหนักหนาพอสมควรแต่จำเป็นต้องร่วมมือกัน “จากที่เราฟังกันมาหลายวันมันนานพอสมควร นานจนเราเห็นว่ามันมีผลกระทบต่อคนเล็กคนน้อย ตั้งแต่จีนมาจนถึงเวียดนามปัญหาเหล่านี้เชื่อมโยงกันหมดการพัฒนาไปเบียดบัง ไปยื้อแย่งที่ ดิน-น้ำ-ป่า คนเล็กคนน้อยตายแน่ ทั้ง 3 อย่าง ดิน-น้ำ-ป่า ถ้าเราไปดูเราะจะเห็นว่ามันมีผลกระทบ การทำเกษตรผืนใหญ่ การใช้สารเคมี การยื้อแย่งทรัพยากรน้ำ ซึ่งเรื่องน้ำเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์และผมว่าเรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่ของโลก . น้ำในปัจจุบันก็ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม อีกหน่อยเกษตรกรจะได้ซื้อน้ำ ป่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราจะเห็นว่าในปัจจุบันป่าเราถูกตัดเอาไปปลูกยางพารา ไปปลูกกล้วย นี่คือสิ่งที่เราเห็นเบื้องต้น แล้วการทำลายทรัพยากรเหล่านี้ เราไม่มีได้โทษใครประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ทุกประเทศที่เข้ามาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีผลประโยชน์หมด เราจะเห็นว่ามันมีผลต่อกันเรื่องการพัฒนาและที่สำคัญ คือ การพัฒนาเหล่านี้จะเห็นเรื่องพลังงาน การค้า การผลิต แต่สิ่งที่ผมอยากจะย้ำให้เห็นในมุมของประชาชนคือ เรื่องแม่น้ำโขง . ถ้าไม่มีแม่น้ำโขงเราไม่เหลืออะไรแล้ว แม่น้ำโขงสำคัญมากและแม่น้ำโขงก็ถูกมองเรื่องการพัฒนามาโดยตลอด ช่วงที่มีสงครามเย็น แม่น้ำโขงได้พักผ่อน ผมว่าแม่น้ำโขงถูกเปลี่ยนแปลงและถูกกระทำตั้งแต่อดีต แม่น้ำที่ไม่ได้ถูกกักเก็บเวลามันไหลไปมันก็หล่อเลี้ยงผู้คน แต่พอมีเขื่อนมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องปริมาณน้ำ บางท่านจะบอกว่า Climate Change ด้วยก็ใช่ แต่ที่สาละวินไม่มีปัญหานี้ ซึ่งผมเชื่อว่าเพราะสาละวินไม่มีเขื่อน สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือ น้ำมันลดน้อยลงไป มีผลกระทบต่อการเกษตร ซึ่งประเทศที่มีผลกระทบรุนแรง คือ ประเทศท้ายน้ำ คือ เวียดน้ำ . แม่น้ำโขงไม่ใช่ทะเลจะขึ้นลงเองไม่ได้และปัญหาที่รุนแรงขึ้น คือ เรื่องของตะกอนน้ำที่จะหายไปจากแม่น้ำโขง คาดว่าใน ปี 2040 คือ อีก 20 ปี ตะกอนแม่น้ำโขงจะหายไป ลองคิดดูว่าถ้าตะกอนหายไปจะเกิดอะไรขึ้น ปัญหาพวกนี้เกิดจากภูมิอากาศ เขื่อน และชาวบ้าน ทุกปัญหามีทางออก แต่ทางออกเรื่องนี้จะยากหน่อย เพราะเป็นความพยายามหาทางออกของคนตัวเล็กตัวน้อย แต่มันไม่ได้รับการแก้ไข เพราะฉะนั้นปัญหาใหญ่ของน้ำโขง คือ การเมือง เพราะการเมือง คือ ปัญหาใหญ่ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผมมีเพื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวบ้านพูดไม่ได้ ไม่ว่าประเทศไหนถ้าประชาชนพูดไม่ได้เราจะแก้ปัญหาไม่ได้ เราพูดไม่ได้ เราจะแก้ปัญหาลำบาก สอง คือเรื่องกระบวนการมีส่วนราวม แต่การเมืองเพื่อนบ้านแบบนี้ก็อาจจะยากหน่อย และอีกข้อ คือ ข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งตอนนี้ที่จะมีเขื่อนมากขึ้นก็จะโยนความผิดกันไปเรื่อย แต่ก่อนมีแค่เขื่อนจีนก็โทษจีน แต่ตอนนี้มีไซยะบุรี และจะมีเขื่อนเพิ่มอีกก็จะโยนกันไปมาแต่ข้อมูลวิชาการอยู่ไหน . ทางออกในการแก้ไขปัญหา ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนในการแก้ไขปัญหาก็เป็นเรื่องสำคัญ ตอนนี้ หนึ่ง คือ พี่น้องชาวบ้านต้องจัดการตนเองในทางออกมีปัญหา แต่ไม่รู้เราจะทำอย่างไรให้มีทางออกของภาคประชาชนจริง ๆ อันแรกผมจะพูดเรื่องกฎหมายในการดูแลทรัพยากร “โลกนี้ถ้ากฎหมายเป็นธรรม มองเห็นประชาชนเท่าเทียมกันเราจะไม่ต้องเดือดร้อนแบบนี้” ตอนนี้เงินไปแล้วแต่กฎหมายไปไม่ถึง . โครงสร้างกลไกลที่เป็นปัญหาก็มีอยู่ ทางออกของมัน คือ ต้องมีการแก้ไขและเรื่องข้อมูลความรู้ในการหาทางออกพี่น้องในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต้องมีความรู้ ต้องมีการศึกษา และสำคัญที่สุดที่จะต้องทำ คือ ต้องการสร้างขบวน สร้างสถาบัน สร้างองค์กรให้กับภาคประชาชนในการเช้าไปต่อรองในการพัฒนาลุ่มน้ำโขง เรื่องนี้เราคุยกันมาร่วม 10 ปี ถึงเวลาแล้วที่ภาคประชาชนต่องรวมตัวกันที่จะเข้าไปต่อรองกับภาครัฐในอนุภูมิภาคให้ได้ เราต้องสร้างสภาประชาชนลุ่มน้ำโขงในประเทศไทยเพื่อให้มีตัวตนจริงจังเสียที เราต้องทำให้เกิดขึ้นจากการมีประชาชน และต้องมีความรู้ ทั้งของไทยและต่างประเทศ อันนี้เรื่องสำคัญ เมื่อเราทำในไทยได้เราจะขยายไปเพื่อนบ้านเราได้ อย่างเวียดนามผมคิดว่าเราสามารถขยายไปได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ พี่น้องในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต้องรวมตัวกัน ต้องสร้างองค์ความรู้ เพื่อต่อรองกับรัฐบาลให้ได้
0 comments on ““ทุกปัญหามีทางออก แต่ทางออกเรื่องนี้จะยากหน่อย เพราะเป็นความพยายามหาทางออกของคนตัวเล็กตัวน้อย””