โครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเพื่อปลูกอ้อยและทำโรงงานน้ำตาล จังหวัดเกาะกง
โครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเพื่อปลูกอ้อยและทำโรงงานน้ำตาล จังหวัดเกาะกง ดำเนินการโดยบริษัทเกาะกงการเกษตร (KPT) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจเพาะปลูกอ้อย และบริษัทน้ำตาลเกาะกง (KSI) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจเพาะปลูกอ้อยและตั้งโรงงานน้ำตาล ขนาด 6,000 ตันอ้อยต่อวัน ในพื้นที่อำเภอสเรอัมเบล ปี 2551 บริษัทฯ ได้เริ่มเก็บเกี่ยวอ้อยและผลิตน้ำตาลเป็นครั้งแรกในปี 2551 ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงานประมาณ 800 คน ในช่วงฤดูหีบ ซึ่งเป็นชาวกัมพูชาร้อยละ 92 ชาวไทยและชาติอื่นๆ อีกร้อยละ 8
แต่เดิมพื้นที่บริเวณที่ตั้งโครงการเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม และยังเป็นพื้นที่ที่ถูกจัดสรรให้เป็นพื้นที่ตามนโยบายการใช้ที่ดินอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Land Use Planning – PLUP) จึงเป็นบริเวณที่ทำกินของชาวบ้าน มีผู้คนอาศัยอยู่เพื่อทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ โดยทั้งหมดอาศัยอยู่อย่างสงบในที่ดินของตนอย่างเปิดเผย เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ เป็นเวลา 5 ปี จึงตรงตามข้อกำหนดผู้มีคุณสมบัติในการขอรับเอกสารที่ดิน โฉนดที่ดิน และมูลค่าตลาดสำหรับที่ดินกรณีมีการเวนคืน ชาวบ้านก็ได้เข้ามาบุกเบิกในพื้นที่นี้มากว่า 70 ปีแล้ว โดยปลูกพืช เช่น สับปะรด มะม่วง ทุเรียน และที่ดินนั้นจะสืบทอดกันสู่ลูกหลาน
การเข้ามาของบริษัททำให้ชาวบ้านสูญเสียที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ทำให้รายได้ลดลง ประชาชนไม่สามารถเข้าไปใช้สอยพื้นที่ป่าได้อีกเนื่องจากบริษัทกั้นเขตไม่ให้เข้า หากต้องการเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวต้องจ่ายค่าผ่านทาง และพื้นที่ป่ายังถูกถากถางลงเป็นจำนวนมาก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
“รายงานการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ: ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน, หน้า 131 – 138”
(แนบไฟล์รายงาน ชื่อ ETOs Book_web)http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F09950.pdf
โครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเพื่อการปลูกอ้อยและทำโรงงานน้ำตาลจังหวัดโอดอร์เมียนเจย
โครงการสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจเพื่อการปลูกอ้อยและทำโรงงานน้ำตาลจังหวัดโอดอร์เมียนเจย เริ่มดำเนินการในช่วงปี 2551-2552 (หลังจากได้รับสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลกัมพูชา) กลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผลได้วางแผนการลงทุนช่วงแรกไว้ราว 3,000 ล้านบาทสำหรับสร้างโรงงานขนาดใหญ่ในกัมพูชา กำลังผลิต 10,000 ตันต่อวัน พื้นที่สัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจดั้งเดิมตามที่ยื่นขออนุมัติของทั้ง 3 บริษัทนั้น เมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่มากถึง 19,736 เฮกแตร์ หรือราว 123,350 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยและสร้างโรงงานน้ำตาล โดยสัมปทานมีระยะเวลา 70 ปี ในพื้นที่ 2 อำเภอ ของจังหวัดโอดอร์เมียนเจย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ได้แก่ อำเภอสำโรง (Samrong) และอำเภอจงกัลป์ (Chongkal)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
“รายงานการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ: ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน, หน้า 139 – 147”
(แนบไฟล์รายงาน ชื่อ ETOs Book_web)http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F09950.pdf