Dams Loas NHRC UNGP and NAP

เปิดรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีเขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อยแตก

3 สิงหาคม 2563

หลังจากที่ตัวแทนคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition) ได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากกรณีเหตุการณ์พังทลายของเขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย ในแขวงอัตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ทำให้เกิดน้ำท้วมเฉียบพลันในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนกว่า 6,000 คนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ต้องไร้ที่อยู่อาศัย และมีผู้เสียชีวิตและสูญหายเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 หลังจากผ่านไปเกือบสองปี ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ออกรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีดังกล่าว มีมติให้ยุติเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณนี้เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าเซเปียน – เซน้ำน้อยตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ จึงไม่อาจดำเนินการตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำของผู้ถูกร้องคือ คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อันอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นใน สปป. ลาว ตามคำร้องของทางคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดนได้ ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่ได้อยู่ในหน้าที่ของและอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 39 (2) ประกอบมาตรา 39 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสั่งยุติเรื่อง หากในกรณีที่มีความปรากฏในภายหลังว่าไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้มีข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ถูกร้อง คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 247 (3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 26 (3) ดังต่อไปนี้

(1) คณะรัฐมนตรีควรเร่งให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (์National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) พิจารณาจัดตั้งกลไกหรือหน่วยงานกลางที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทย ซึ่งรวมถึงผู้ถูกร้องในกรณีตามคำร้องนี้ ให้เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนโดยนำหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) มาเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดต่อไป

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทยควรเร่งส่งเสริมและพิจารณามาตรการให้ธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการประกอบธุรกิจที่ส่งผลกระทบค่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยผลักดันให้มีแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking Guidelines) ซึ่งกำหนดแนวทางในการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ที่สอดคล้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) หรือแนวปฏิบัติอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการประเมินความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมก่อนการออนุมัติเงินกู้สำหรับการลงทุน เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (์National Action Plan on Business and Human Rights: NAP)

(3) ผู้ถูกร้องควรนำหลักการชี้แนะสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจโดยการเคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) และกระบวนการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดจากการประกอบธุรกิจ รวมทั้งช่องทางสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแก่สาธารณชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และให้ความสำคัญกับการระงับเหตุข้อพิพาทกับชุมชนโดยการเจรจาหารือร่วมกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

อ่านรายงานการตรวจสอบฉบับเต็มได้ที่ลิ้งด้านล่าง

0 comments on “เปิดรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีเขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อยแตก

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: