Dams

ประเด็นสำคัญและธรรมาภิบาลความรับผิดชอบ: กรณี เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย แตก

ประเด็นที่ 1: ความผิดปกติในรายงาน EIA และความเป็นจริง ว่าด้วยกรณีเขื่อนดินย่อยปิดช่องงเขา (Saddle Dam – D) ประเด็นที่ 1:

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์:

ในรายงาน EIA ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของบริษัทไฟฟ้า เซเปียน เซน้ำน้อย จำกัด ระบุว่า

  • เขื่อนดินย่อยปิดช่องเขา (Saddle Dam) จะมีทั้งหมด 3 แห่ง โดยมีลักษณะเป็นเขื่อนดิน (https://goo.gl/mDZmy4  , Environmental Impact Assessment, Project Description, หน้า 3 – 13) แต่ที่ปรากฏตามข่าวและในความเป็นจริงมีทั้งสิ้น 5 แห่ง
  • เขื่อนดินย่อยปิดช่องเขาที่แตก คือ เขื่อนย่อยปิดช่องเขา ส่วน D (Saddle Dam – D) ซึ่งมีขนาดความกว้าง 8 เมตร ยาว 770 เมตร สูง 16 เมตร แต่เขื่อนในจุดอื่น ๆ ไม่แน่ชัดว่ามีความกว้าง ยาว และสูง เท่าใด
  • เขื่อนดินย่อยปิดช่องเขา 3 เขื่อน มีมูลค่ารวม 8,588 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (https://goo.gl/73uA2s , Resettlement and Ethic People Development Plan, Project Descriptionหน้า 3 – 7) และไม่ได้ระบุว่าแต่ละจุดจะใช้งบประมาณเท่าไหร่
  • ไม่ปรากฏส่วนที่กล่าวถึงการก่อสร้างเขื่อนย่อยปิดช่องเขาอีก 2 จุด แต่อย่างใด (ซึ่งน่าจะเป็นส่วน Saddle Dam – A และ C)

นอกจากนี้ในรายงาน EIA ก็ไม่ได้มีการระบุเรียกชื่อเขื่อนย่อยปิดช่องเขาเป็นตัวอักษรตามที่ปรากฏอยู่ในการรายงานข่าว แต่ปรากฏการเรียกชื่อเขื่อนย่อยปิดช่องเขาเป็นตัวเลข คือ Saddle Dam 1, Saddle Dam 2 และ Saddle Dam 3 (http://www.pnpclaos.com/images/PDF/EnvSocialDoc/REPDP/Chapter1/Map_1.pdf )

ประเด็นที่ 2: การประเมินความเสี่ยงและการรับมือกับผลกระทบหรือภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน ใน EIA

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์

ในรายงาน EIA ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของบริษัทไฟฟ้า เซเปียน เซน้ำน้อย จำกัด ในส่วนของมาตรการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Mitigation Measures) ในช่วงที่ระหว่างการก่อสร้างได้ระบุประเด็นมาตรการการลดผลกระทบในหลายประเด็น โดยประเด็นที่สำคัญ คือ อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ (Accidents and Natural Hazards) โดยมีประเด็นย่อย ๆ ที่พูดถึงความเสี่ยงจากไฟไหม้และการระเบิด (Fire and Explosion), ความเสี่ยงจากวัตถุอันตรายและน้ำมัน (Spills of oil and hazardous materials), ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว (Seismic Risk) ภัยน้ำท่วม (Flood), และระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) โดยในส่วนของภัยน้ำท่วมนี้ในรายงาน EIA ได้เสนอให้ใช้มาตรการการลดผลกระทบด้วยการติดตามสภาวะทางอุทกวิทยาและภูมิอากาศซึ่งเป็นส่วนสำคัญและจำเป็นสำหรับการทำให้การลดผลกระทบและการจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับน้ำไหลสูงสุดและเหตุการณ์น้ำท่วมในแต่ละวัน โดยให้วัดจากการติดตามตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น ปริมาณน้ำฝน อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ ระดับน้ำ และการสังเกตด้วยตา เช่น การสังเกตพืชน้ำ พรรณพืช การเกิดขึ้นและลักษณะสัณฐานของตะกอนดิน อีกทั้งยังกำหนดให้มีการพัฒนาแผนรับมือต่อเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Emergency Response Plan)  (https://goo.gl/iY3stT , หน้า 6 – 14และ 6 – 15) ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่สามารถสืบค้นจนพบได้ อีกทั้งจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าแม้จะมีมาตรการการลดผลกระทบในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างภัยน้ำท่วม กอปรกับการพิจารณาจากรายงาน EIA แล้วพบว่าไม่ปรากฏการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) อย่างชัดเจนแต่อย่างใดจากประเด็นเขื่อนวิบัติ เช่น กรณีหากมีการล้นของน้ำจากทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินของเขื่อน (Spill  Way) น้ำล้นสันเขื่อน หรือที่เลวร้ายที่สุดคือเขื่อนพังทลายหรือวิบัติ อีกทั้งไม่ปรากฏส่วนในรายงาน EIA เกี่ยวกับส่วนที่เป็นมาตรการประกันภัยจากภัยพิบัติ (Disaster Assurance Measure) ให้กับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบและได้รับความเสี่ยงอย่างมาก เช่น ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณท้ายเขื่อน

ประเด็นคำถามที่สำคัญหลังจากพิจารณารายงาน EIA คือ บริษัทผู้ดำเนินโครงการได้มีการจัดทำแผนรับต่อเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Emergency Response Plan) หรือไม่ เพราะนี่เป็นประเด็นสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดทางวิศวกรรม และแม้หากมีการจัดทำแผนดังกล่าวแล้ว ได้มีการนำไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนที่ได้รับผลกระทบและอาจได้รับผลกระทบได้รับทราบ และซักซ้อมแผนการรับมือนั้น อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เขื่อนแตก ทำให้ประเมินได้ว่าบริษัทผู้ดำเนินโครงการอาจไม่มีแผนการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้การแจ้งเตือนภัยและการแจ้งให้ประชาชนท้ายเขื่อนอพยพเป็นไปอย่างล่าช้าและกระชั้นชิดอย่างมาก และจากรายงานข่าวต่าง ๆ ทำให้เห็นได้ว่าบริษัทผู้ดำเนินโครงการทราบอยู่แล้วว่าเขื่อนเริ่มมีปัญหาตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม หรือยิ่งไปกว่านั้น สื่อต่างประเทศบางสำนักรายงานว่าเขื่อนเริ่มมีรอยแยกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ขณะที่การแจ้งให้ทางการลาวทราบเพื่อให้ประชาชนท้ายเขื่อนอพยพนั้นเกิดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม ก่อนที่เขื่อนปิดช่องเขา Saddle Dam –D จะแตกเพียงไม่กี่ชั่วโมง ส่งผลให้มวลน้ำกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตรจากเขื่อนดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงทะลักลงสู่แม่น้ำเซเปียนและไหลเข้าท่วมหมู่บ้านในบริเวณเมืองสะหนามไซ   

ประเด็นที่ 3: การตอบสนองต่อเหตุการณ์ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์

ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย แตกนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ได้มีการชี้แจงต่อกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสาธารณะชนผ่านจดหมายชี้แจงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ว่าได้เกิดการทรุดตัวของเขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน D (Saddle Dam – D) เกิดการทรุดตัว ทำให้สันเขื่อนดินย่อยดังกล่าวเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำลงไปยังแม่น้ำเซเปียนที่อยู่ห่างจากพื้นที่เขื่อนประมาณ 5 กิโลเมตร โดยสาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลเข้าสู่พื้นที่กักเก็บน้ำของโครงการ (https://goo.gl/uRbe96 )

จะเห็นได้ว่าทางบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) พยายามอธิบายสาเหตุการแตกโดยเน้นไปที่ปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแม้จะมีปริมาณฝนที่มากจากการที่ฝนตกหนัก เขื่อนก็ต้องสามารถรองรับน้ำได้ เนื่องจากเป็นจุดประสงค์หลักของเขื่อนที่จะต้องสามารถกักเก็บน้ำได้เพื่อไว้ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และเพราะหากเป็นเหตุผลที่ฝนตกหนักทำให้เขื่อนพังเขื่อนในส่วนอื่น ๆ และเขื่อนอื่น ๆ ก็ต้องพังลงมาด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นเพียงหนึ่งวัน ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ได้ออกหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีดังกล่าวว่า ในเบื้องต้น บริษัทฯ ได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือจำนวน 1,300 ล้านกีบ หรือ ประมาณ 5 ล้านบาท แก่ทางการลาว ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ พร้อมทีมงานได้เดินทางไป สปป.ลาว เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย พร้อมทั้งประสานขอการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และกฟผ. ในการให้ความช่วยเหลือเครื่องอุปโภคและบริโภค ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงการฟื้นฟูแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยืนยันที่จะให้ความร่วมมือ สนับสนุน และช่วยเหลือทางการ สปป.ลาว อย่างเต็มที่ต่อไป (https://goo.gl/xnBboq )

ประเด็นที่ 4: หน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ในโครงการ

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์

จากข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซต์ของบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน เซน้ำน้อย จำกัด ระบุว่า บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ต่อโครงการเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย ในการควบคุมดูแลงาน (Supervision)(ดู http://www.pnpclaos.com/index.php/en/about-pnpc/business-structure ) ทั้งนี้ภายในเว็บไซต์และรายงาน EIA ก็ไม่ได้มีการระบุรายละเอียดในส่วนนี้เพิ่มเติมแต่อย่างใดว่าในการควบคุมดูแลงานก่อสร้างนี้บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้งฯ จะต้องเริ่มทำหน้าที่หรือรับช่วงงานตั้งแต่เมื่อใด เช่น ตลอดโครงการ นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจ คือ ช่วงก่อนก่อสร้าง ช่วงก่อสร้าง (construction) หรือช่วงการดำเนินการหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ (operation) แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้งฯ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 บริษัทที่เข้าถือหุ้นและร่วมเป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ถึง 25% นั้น และยังมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลงานในโครงการ ควรที่จะแสดงออกถึงความรับผิดชอบในเหตุภัยพิบัติที่เกิดจากความผิดพลาดทางวิศวกรรมในการสร้างเขื่อน อีกทั้งบริษัทฯ ยังเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 40% และ กฟผ. เองก็เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ได้จากโครงการเขื่อนนี้ จึงมีความจำเป็นที่บริษัทฯ และรวมถึง กฟผ. ต้องแสดงความรับผิดชอบมากกว่าการบริจาคเงินช่วยเหลือ ซึ่งทางบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้งฯ ได้บริจาคช่วยเหลือราว 5 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 0.0125 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณการลงทุนของบริษัทในโครงการเขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย ที่มูลค่า 40,000 ล้านบาท คำถามสำคัญคือทางบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีหุ้นหนึ่งในสี่ของบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน เซน้ำน้อย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของโครงการ ควรที่จะมีความรับผิดชอบมากกว่าการให้บริจาคเงินดังกล่าวหรือไม่ หรือเงินบริจาคในจำนวน 5 ล้านบาท เพียงพอหรือไม่ อย่างไร สำหรับการเป็นผู้ถือหุ้นพัฒนาโครงการร่วม ซึ่งทางบริษัทฯ เองเป็นผู้ดูแลควบคุมงานก่อสร้าง ( http://www.pnpclaos.com/index.php/en/project/project-in-brief )

ประเด็นที่ 5: ธรรมาภิบาลของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์

ในส่วนประเด็นธรรมาภิบาลของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด โดยเฉพาะในส่วนของความผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม นั้นมีประเด็นย่อย ๆ ที่น่าสนใจซึ่งระบุไว้ในเอกสารและข้อมูลบนเว็บไซต์ของบริษัทดังต่อไปนี้ในส่วนของนโยบายของบริษัทนั้น บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีนโยบายเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5 ข้อด้วยกัน ( http://www.ratch.co.th/th/cg/corporate-policy/corporate-social-responsibility-policy )

  1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และให้ความสำคัญในการสื่อสาร เพื่อการอยู่ร่วมกับชุมชนในลักษณะเพื่อนบ้านที่ดี
  2. สนับสนุนการพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน
  3. ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
  4. ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างสรรค์และพัฒนาคุณภาพของสังคม
  5. สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและชีวิต

ในส่วนพันธกิจของบริษัทได้มีข้อหนึ่งที่ระบุว่า “มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด” ( http://www.ratch.co.th/th/about/vision )

ในจรรยาบรรณการลงทุนของบริษัทนั้น บริษัทได้ระบุถึงการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะในส่วนของการปฏิบัติต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ไว้หลายข้อหลายประการด้วยกัน โดยข้อที่น่าสนใจในการลงทุนและการดำเนินโครงการ คือ (http://www.ratch.co.th/src/misc/cg/20160427-ratch-cg-code-of-conduct-th-02.pdf , จรรยาบรรณ, หน้า 20)

  1. บริษัทมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวมไว้ในพันธกิจของบริษัท เพื่อสร้างและรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งความน่าเชื่อถือขององค์กรเพื่อให้ได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจากชุมชนและสังคมในภาพรวม อันจะนำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ ตลอดจนการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนของกิจการ
  2. บริษัทสนับสนุนการจัดทำโครงการและกิจกรรมของบริษัทและที่ร่วมกับพันธมิตรที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โดยเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์กรและตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
  3. มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอันเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้มีส่วนได้เสีย
  4. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือสังคมและชุมชน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศตามความเหมาะสม
  5. เคารพต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่น
  6. ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชนที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ตามควรแก่กรณี
  7. ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยคำนึงถึงทางเลือกที่มีผลกระทบต่อชุมชน และสังคมน้อยที่สุด
  8. ส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทมีจิตสำนึกที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  9. ส่งเสริมการใช้ และการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อชนรุ่นหลัง
  10. เปิดโอกาส สนับสนุน และจัดให้มีระบบและกระบวนการที่เหมาะสม ให้ชุมชนและผู้มีส่วน
  11. เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมสำหรับโครงการต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชน รวมทั้งการเสนอความเห็นหรือข้อร้องเรียนต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของบริษัท
  12. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดeเนินการตามมาตรฐานหรือข้อตกลงในระดับสากลในเรื่องต่างๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยป้องกันหรือลดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  13. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดการเกิดขยะหรือของเสีย ทั้งจากกระบวนการผลิตและการใช้งานทั่วไป รวมทั้งจัดให้มีการกำจัดขยะหรือของเสียด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม
  14. ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพ และความปลอดภัย ก่อนที่จะมีการลงทุนหรือร่วมทุนในกิจการใด

นอกจากนี้ภายในจรรยาบรรณของบริษัทยังปรากฏเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากในส่วนการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไว้ในอีกหลายส่วนด้วยกัน เช่น ในส่วนของหัวข้อ สิทธิมนุษยชน ที่มีหัวข้อย่อยที่ระบุถึง เจตนารมณ์ของบริษัท นั้น มีการระบุว่า 1) การดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด ให้ความรู้ความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชนแก่พนักงานเพื่อนำไปปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานและไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนสากล 5) บริษัทจะมีส่วนร่วมในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่กิจการของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ (http://www.ratch.co.th/src/misc/cg/20160427-ratch-cg-code-of-conduct-th-02.pdf , จรรยาบรรณ, หน้า 26 – 27)

ในเว็บไซต์ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ในส่วนข่าวสารและสื่อส่งพิมพ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ได้ระบุถึงการรับรางวัลรายงานความยั่งยืน หรือ Sustainability Report Award ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยมีนางบุญทิวา ด่านศมสถิต  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นผู้แทนรับมอบ จากสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บริษัทดำเนินการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social, and Governance: ESG) ในรูปแบบของรายงานความยั่งยืน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ลงทุนในรูปแบบรายงานความยั่งยืน โดยบริษัทฯเป็น 1 ใน 16 บริษัท ที่ได้รับรางวัลประเภท“ดีเด่น” ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นองค์กรที่มุ่งสู่การเป็นบริษัทพลังงานชั้นนำที่เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจังเสมอมา ทั้งนี้เนื้อหาในส่วนดังกล่าวยังระบุเพิ่มเติมอีกว่ารายงานความยั่งยืนของบริษัทฯ ได้แสดงเนื้อหาถึงการดำเนินการจัดการควบคุมกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นผลและเป็นรูปธรรมโดยยึดหลัก “มิตรภาพระหว่างอุตสาหกรรมระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม” ในการดำเนินงาน  การนำแนวคิดอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) มุ่งมั่นให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงไฟฟ้าตามหลักการพัฒนาโดยไม่ทำลาย ตลอดจนการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เช่น โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โครงการขยายผลพลังงานชุมชน เป็นต้น (https://goo.gl/DDnPkY )

ประเด็นที่ 6: การทุจริตในโครงการของบริษัท SK & E จากการตรวจสอบของรัฐบาลเกาหลี

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์

สำนักข่าวชายขอบได้อ้างถึงสำนักข่าวฮันเคียวเร (Han Kyo Reh)ของเกาหลีใต้รายงานเมือวันที่ 15 ตุลาคม 2561 ว่า บริษัท SK E&C ผู้ก่อสร้างเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย พยายามที่จะลดต้นทุนการก่อสร้างด้วยการปรับเปลี่ยนแบบเขื่อน จนทำให้เขื่อนพัง รายงานข่าวอ้างอิงเอกสารภายใน ซึ่งยืนยันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2561 โดยมีข้อมูลความสูงของเขื่อนที่แตกและองค์ประกอบของเขื่อนอื่นๆ ที่รับผิดชอบโดยบริษัท SK E&C ลดลงเฉลี่ย 6.5 เมตร ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานของแบบเขื่อนที่มีการออกแบบไว้ นอกจากนี้ ผู้สังเกตการณ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า ขณะที่โครงการดังกล่าวเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทุนของรัฐบาล ODA ของเกาหลีใต้ แต่โครงการเซเปียน-เซน้ำน้อยกลับยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา ซึ่งชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลนำงบประมาณไปสร้างกำไรให้กับบริษัท SK E&C อีกทั้งมีการลดค่าการก่อสร้างด้วยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การก่อสร้างซึ่งจากเอกสารแผนการเตรียมโครงการเขื่อนลาว ของบริษัท SK E&C เมื่อปี 2555 ซึ่งสำนักข่าวฮันเคียวเร ได้รับจาก นายคิม ยัง ฮับ Kim Kyung Hyup สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค Democratic Party ชี้ให้เห็นว่า บริษัทมีอำนาจในการปรับเปลี่ยนการออกแบบเขื่อนเดิมเพื่อให้ได้ “ค่าบำรุงรักษาและผลกำไร” สูงสุดถึง 15 % ของมูลค่าการก่อสร้าง (120ล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อเดือนสิงหาคมในปีเดียวกัน บริษัท SK E&C ได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัทเซเปียน-เซน้ำน้อย การร่วมทุน มูลค่าการประกันในการบำรุงรักษาและกำไรประมาณ ร้อยละ 12.2 ของมูลค่าการก่อสร้าง(83 ล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อมา บริษัท SK E&C จึงเริ่มการพัฒนา “รายละเอียดของแผนงาน” เพื่อทำกำไรมากขึ้น

เอกสารที่ สส. คิม ได้รับมานี้ ได้อ้างอิงถึงการตัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลงจำนวน 19 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการปรับเปลี่ยนขนาดของเขื่อนและวัสดุและการปรับความลาดเอียง รวมถึงการชะลอกำหนดการในการก่อสร้างในเดือนเมษายนปี 2556 เพื่อให้นักลงทุนรายอื่นๆกดดันให้เกิดค่าใช้จ่ายและค่าความปลอดภัย เพื่อเป็นข้อได้เปรียบในการเจรจาและให้แล้วเสร็จก่อนกำหนด

รายงานข่าวระบุว่ามีการลดความสูงของเขื่อนเสริมลงโดยเฉลี่ย 6.5 เมตร เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ความสูงของเขื่อนดินทั้ง 5 ตัวที่อยู่ในแผนการออกแบบเบื้องต้นของบริษัทกำหนดไว้ระหว่าง 10 -25 เมตร แต่ในแผนเพิ่มเติมที่ทางบริษัทได้ส่งไปให้สำนักงานของ สส. ระบุความสูงของเขื่อนอยู่ที่ 3.5 – 18.6 เมตร โดยถือว่าความสูงของเขื่อนเสริมลดลงโดยเฉลี่ย 6.5 เมตร จากแผนออกแบบเบื้องต้น

โครงการนี้ไม่ใช่โครงการเอกชนทั่วไป แต่ได้รับทุนสนับสนุนจากแบบ ODA ของรัฐบาลเกาหลีใต้ เมื่อปี 2554 เมื่อรัฐบาลลาว ขอความช่วยเหลือด้านการกู้ยืมจากรัฐบาลเกาหลีเพื่อการสร้างเขื่อน ภายใต้การร้องขอดังกล่าว มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน PNPC ซึ่งมีบริษัท SK E&C, บริษัท Korea Western Power, บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จากประเทศไทย และLao State Holding Enterprise รัฐวิสาหกิจลาวร่วมทุน

ต่อมาเดือนตุลาคม โครงเขื่อนลาวได้ถูกบรรจุในกองทุนแผนความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจ มีงบประมาณ 68.7 ล้านวอน(60.7 ล้านเหรียญสหรัฐ) และได้มีการอนุมัติให้กับรัฐบาลลาวอย่างรวดเร็วในเดือนธันวาคม เป็นการให้เงินขณะที่ไม่มีการปฏิบัติการหลักการของโครงการ ODA ซึ่งรวมถึงการทบทวนประจำปีของสภาผู้แทนราษฎร และการทบทวนของคณะกรรมาการพัฒนาความร่วมมือต่างประเทศอันเนื่องมาจากกฎหมายกรอบความร่วมมือการพัฒนาสากล ในขณะที่อีก 3 โครงการที่ได้รับเงินกู้สนับสนุนนอกเหนือจากโครงการเขื่อนของรัฐบาลลาว กลับผ่านการพิจารณาทบทวนของสภาผู้แทนราษฎร ( http://transbordernews.in.th/home/?p=19567 , และ http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_international/865895.html )

ก่อนหน้าเหตุการณ์การตรวจสอบของรัฐบาลเกาหลี ในวันที่ 9 สิงหาคม 2561 ได้มีการจัดเวทีเสวนาประชาชน “เขื่อนในลาว (แต่) ไม่ใช่เขื่อนลาว บริษัทเกาหลี การไฟฟ้าไทย และเงินช่วยเหลือข้ามชาติในธุรกิจเขื่อนที่แตกพัง” โดยกลุ่มเครือข่ายประชาชนจับตาการลงทุนในเขื่อนลาว (Laos Dam Investment Monitor : LDIM) ได้มีการพูดถึงเส้นทางการเงินและการรวมกลุ่มทางธุรกิจในระดับรัฐและเอกชนและส่งผลกระทบมายังประชาชนใต้เขื่อนในท้ายที่สุด และผลกระทบบนแม่น้ำนานาชาตินั้นส่งผลกระทบข้ามพรมแดนแบบไม่ต้องกรอกวีซ่าผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองโดย

ผศ. โซ ยอน คิม นักวิชาการจากสถาบันโซกังเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออก หนึ่งในวิทยากรผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่า มีความพยายามลดเวลาก่อสร้างให้น้อยลงด้วยการลดขั้นตอนการก่อสร้างบางอย่าง ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องมาตรฐานการก่อสร้าง มีรายงานข่าวว่าเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยที่จะสร้างแล้วเสร็จตามแผนในปีหน้ากลับถูกกักเก็บน้ำไว้แล้ว ทั้งที่ควรจะต้องทดสอบความปลอดภัยก่อน โดยคิดว่าสาเหตุที่ต้องรีบเก็บน้ำเพราะว่าเวลาที่จะใช้เก็บน้ำก่อนที่จะเริ่มผลิตไฟฟ้าจะต้องใช้เวลา 2-3 ปี การเร่งรัดเก็บน้ำก่อนก็เพื่อจะให้ได้กำไรมากขึ้น (https://prachatai.com/journal/2018/08/78232 )

ประเด็นที่ 7: ธนาคารไทยกับธรรมาภิบาลของบริษัทที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์

ในส่วนจะชี้ให้เห็นถึงธรรมาภิบาลหรือบรรษัทภิบาลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ไปจนถึงการปล่อยกู้สินเชื่อให้กับผู้พัฒนาโครงการขนาดใหญ่ โดยจะขออธิบายจากธรรมาภิบาลหรือบรรษัทภิบาลในแต่ละธนาคารที่เกี่ยวข้อง ซี่งเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อในการดำเนินโครงการเขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย จำนวน 22,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70% คือ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาติ และธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) จากนั้นจะอธิบายถึงการตอบสนองต่อเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย ของแต่ละธนาคาร รวมทั้งการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของนโยบาย ธรรมาภิบาล หลักความรับผิดชอบของธนาคารต่อเหตุการณ์ ตลอดจนแนวคิด/ข้อเสนอหรือสิ่งที่ธนาคารควรกระทำหรือรับผิดชอบ

ธรรมาภิบาล, บรรษัทภิบาล, นโยบายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

  • ธนาคารกรุงไทย : ภายในนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคารกรุงไทย ได้มีการระบุนโยบายย่อย ๆ หลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือ นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งภายในนโยบายดังกล่าวมีเนื้อหากล่าวถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้าง ๆ โดยเน้นไปที่การดูแลกิจการภายใน กล่าวคือ ในส่วนของนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของพนักงาน ชุมชน และสังคมในทุกมิติ และดูแลผลประโยชน์ของผู้มีสวนได้เสีย ส่วนนโยบายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นกล่าวว่าธนาคารบริหารงานมีเป้าหมายการป้องกันและควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดการสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานให้ปลอดภัย ส่งเสริมและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่พนักงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (จาก https://www.ktb.co.th/Download/aboutKTB/MediaFile_32CSRPolicy.pdf)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา: ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลของบริษัทในการดำเนินงานนั้นจะยังคงเน้นไปที่ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และสิ่งแวดล้อมภายในการดำเนินงานขององค์กรเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากใน “ปรัชญาและสำนึกในการปฏิบัติงาน” (https://www.krungsri.com/bank/th/ebook-the-spirit-and-the-letter-th/ , หน้า 50 – 51) ที่กล่าวถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัย ก็จะเน้นไปที่การให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของพื้นที่การปฏิบัติงานเป็นหลัก ในส่วนที่กล่าวถึงธรรมาภิบาลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นจะปรากฏในส่วนของ “หลักกำกับดูแลกิจการที่ดี” ซึ่งเนื้อหาภายในไม่ได้ให้ความสำคัญถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่ก็มีการเอ่ยถึงในภาพกว้างในส่วนของความหมายของการกำกับดูแลกิจการ ให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปรากฏในส่วนของหน้าเว็บไซต์ หัวข้อ ความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งก็เน้นแต่เพียงการทำกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ เช่น การให้ทุนการศึกษา (https://www.krungsri.com/bank/th/Other/CSR/News.html )
  •  ธนาคารธนชาติ: ในเว็บไซต์ของบริษัทมีการกล่าวถึงการให้ความสำคัญในการประกอบธุรกิจในกรอบนโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) โดยมีการกำหนดทั้งในกระบวนการธุรกิจและนอกกระบวนการธุรกิจ โดยในส่วนกระบวนการภายในธุรกิจ (CSR in Process) นั้นได้กล่าวถึงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมโดยเน้นไปที่การอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเป็นหลัก ส่วนด้านสังคมก็เน้นไปที่ด้านบริหารความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่อพนักงานและลูกค้า แต่ก็มีส่วนที่น่าสนใจ คือ ส่งเสริมคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยกลุ่มธนชาติมีหลักในการคัดเลือกคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างชัดเจนว่าจะไม่ส่งเสริมคู่ค้าที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยใช้แรงงานเด็ก หรือการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่ผิดศีลธรรม (https://goo.gl/5cfa15 ) และในส่วนของกระบวนการภายนอกธุรกิจนั้นจะเน้นไปที่กิจกรรมส่งเสริมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการศึกษาเป็นหลัก
  • ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย (EXIM Bank): สำหรับ EXIM Bank ได้กล่าวถึงธรรมาภิบาลของบริษัทในส่วนของความรับผิดชอบต่อสังคมบนหน้าเว็บไซต์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรที่ดีของสังคม (Good Corporate Citizen) โดยมีกลยุทธ์การดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่เน้นในการทำกิจกรรมแบบ CSR เป็นหลัก ซึ่งมีการสนับสนุนการทำกิจกรรมดังกล่าวใน 4 มิติ ด้วยกัน คือ  1) ชุมชน สังคม ประเทศชาติ (รวมการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้อยโอกาส และการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจของผู้ประกอบการ) 2) การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม 3) สุขภาพ อาชีวอนามัยและสาธารณสุข และ 4) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (http://www.exim.go.th/th/about_exim/csr.aspx ) และนอกจากนี้ในส่วนของนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีก็ได้มีการกล่าวถึง “บทบาทต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ซึ่งได้มีการกำหนดขอบเขต คือ ผู้ถือหุ้น (กระทรวงการคลัง) ลูกค้า พนักงาน ผู้ส่งมอบ คู่ค้า คู่ความร่วมมือ ชุมชนและสังคม (ผู้ส่งออกและนักลงทุน หน่วยงานที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม) และกำหนดให้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างชัดเจน (http://www.exim.go.th/th/about_exim/controlPolicy.aspx ) ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น

การตอบสนองต่อเหตุการณ์ของธนาคาร

ในแง่ของการตอบสนองต่อเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย แตกบริเวณเขื่อนย่อยปิดช่องเขาส่วน D นั้น ทางธนาคารผู้ปล่อยกู้แต่ละธนาคารมีการตอบสนองต่อเหตุการณ์แตกต่างกันไป จะขออธิบายเป็นรายธนาคาร

  • ธนาคารกรุงไทย: นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยถึง กรณีการทรุดตัวของเขื่อนดินย่อยโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย ประเทศลาว ซึ่งส่งผลให้สันเขื่อนดินกั้นน้ำรอบอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อยเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำและลงสู่ลำน้ำเซเปียน ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “หัวใจไทยส่งไป สปป.ลาว” บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 067-0-12886-4 สาขาทำเนียบรัฐบาล เพื่อรองรับการบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำรายการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวทุกประเภท ซึ่งสามารถบริจาคผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคาร เช่น เคาน์เตอร์สาขาทั่วประเทศ ตู้เอทีเอ็ม และ บริการ KTB netbank นอกจากนี้ทางธนาคารขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังประชาชน สปป.ลาว และหวังว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะคลี่คลายโดยเร็ว ซึ่งในฐานะที่ธนาคารให้การสนับสนุนทางการเงินร่วมกับสถาบันการเงินอื่นแก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยนั้น ธนาคารคาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินธุรกิจของโครงการดังกล่าว ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างประมาณร้อยละ 90 และกำหนดจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2562 โดยโครงการนี้มีการกำหนดให้ผู้ลงทุนดำเนินการตามมาตรฐานที่รัดกุมตามกฎระเบียบของ สปป.ลาว รวมทั้งมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อตรวจสอบและควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามคุณภาพและมาตรฐานสากล ( https://www.ktb.co.th/th/krungthai-update/news-detail/134 )
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา: ไม่พบ
  • ธนาคารธนชาติ: ไม่พบ
  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย: วันที่ 25 กรกฎาคม ทาง EXIM Bank ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับกรณีเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย แตก ในเบื้องต้นทาง EXIM Bank ได้ให้การสนับสนุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมแก่ สปป. ลาว จำนวน 100,000 บาท ผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังได้ระบุเพิ่มเติมว่าการสนับสนุนทางการเงินร่วมกับสถาบันการเงินอื่นนี้เป็นไปเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน โดยโครงการนี้มีการกำหนดให้ผู้ลงทุนดำเนินการตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่เป็นไปตามกฎระเบียบของ สปป. ลาว รวมทั้งกำหนดให้มีที่ปรึกษาด้านเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อตรวจสอบและควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามคุณภาพและมาตรฐานสากล ทั้งนี้จะทางบริษัทจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด (http://www.exim.go.th/doc/adn/6100007542_0.pdf )

ความเชื่อมโยงของนโยบาย ธรรมาภิบาล และหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคารกับการตอบสนองต่อเหตุการณ์

  • จากที่กล่าวมาข้างต้นในส่วนของธรรมาภิบาล บรรษัทภิบาล และนโยบาย และการตอบสนองต่อเหตุการณ์เขื่อนแตกของธนาคารที่เกี่ยวข้องนั้นจะเห็นได้ว่าในส่วนของธรรมาภิบาล บรรษัทภิบาล นโยบาย หรือหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นรายละเอียดและเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นไปที่การแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมนอกการดำเนินงานขององค์กรหรือภายในองค์กรมากนัก เนื้อหาส่วนใหญ่ให้น้ำหนักไปที่การจัดการความรับผิดชอบภายในองค์กรหรือในสำนักงานมากกว่า การดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพียงแต่มีการพูดถึงแบบกว้าง ๆ ไม่มีเนื้อหาที่เจาะจงรายละเอียดถึงการที่หากผู้กู้เงินลงทุนหรือสินเชื่อในโครงการขนาดใหญ่ได้สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในพื้นที่การดำเนินโครงการจะมีมาตรการการจัดการต่อผู้กู้หรือผู้ดำเนินโครงการนั้นอย่างไร หรือทางธนาคารจะมีมาตรการรับมือหรือแสดงความรับผิดชอบอย่างไรได้บ้าง อีกทั้งยังเน้นไปที่การทำกิจกรรม CSR เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามในธรรมาภิบาล หลักการกำกับดูแลกิจการ นโยบายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบางธนาคารก็มีความน่าสนใจและมีความเกี่ยวข้อง เช่น ในนโยบายแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารธนชาติ มีการกล่าวถึงการส่งเสริมคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีหลักในการคัดเลือกคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างชัดเจนว่าจะไม่ส่งเสริมคู่ค้าที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยใช้แรงงานเด็ก หรือการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่ผิดศีลธรรม จริงอยู่ว่าปัญหานี้อาจไม่มีเรื่องของการใช้แรงงานเด็กหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรงแต่ปัญหาเขื่อนแตกนี้ก็แสดงให้เห็นว่าอาจมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอ้อม อันเกิดจากการบริหารจัดการและการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีปัญหาและมีการทุจริตคอรัปชันในโครงการหรือไม่ (ดู http://transbordernews.in.th/home/?p=19567, http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_international/865895.html ) และธนาคารธนชาติจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อบริษัทผู้ดำเนินโครงการนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าธนาคารธนชาติไม่ได้มีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งนี้ในทางสาธารณะแต่อย่างใด และนอกจากนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารธนชาติแล้ว นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคารกรุงไทยก็มีความน่าสนใจกล่าวคือ มีส่งเสริมและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่พนักงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยในส่วนแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการนี้ในธุรกิจธนาคารหมายรวมถึงการปล่อยสินเชื่อและการปล่อยเงินกู้ต่าง ๆ แก่ผู้กู้ด้วย ซึ่งในส่วนนี้อาจแสดงให้เห็นว่าธนาคารอาจไม่ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริหาร (เงินกู้สินเชื่อ) รวมถึงตรวจสอบการนำเงินกู้ไปใช้ในการดำเนินโครงการได้ดีพอ

ในส่วนของการตอบสนองต่อเหตุการณ์เขื่อนแตกนั้น จะเห็นได้ว่าธนาคารที่ออกมาแสดงท่าทีและตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างชัดเจนนั้นมี 2 จาก 4 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทยและ EXIM Bank ที่ออกมาแสดงความเสียใจและดำเนินการความช่วยเหลือผ่านการแจ้งเป็นข่าวและชี้แจงต่อสาธารณะในหน้าเว็บไซต์ของตน รวมถึงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แต่ธนาคารอีก 2 แห่ง คือ ธนาคารธนชาติและธนาคารกรุงศรีอยุธยา ไม่ได้การชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นนี้ต่อสาธารณะ แม้กระทั่งในหน้าเว็บไซต์ของตนหรือในส่วนข้อมูลข่าวในหน้าการลงทุนของธนาคารในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งในส่วนนี้อาจชี้ให้เห็นได้ว่าธนาคารทั้งสองแห่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจเป็นการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องต่อนโยบายหรือธรรมาภิบาลในความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ และผู้คนที่สูญเสียไป  

ประเด็นที่ 8: บริษัท TEAM Consulting Engineering กับความเกี่ยวข้องในการดำเนินงานภายในโครงการ

ข้อมูลที่ได้และส่วนวิเคราะห์

บริษัท TEAM Consulting Engineering แม้จะไม่ได้เป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการเขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย แต่มีส่วนสำคัญในการดำเนินโครงการในหลายส่วน เช่น มีหน้าที่ในการศึกษาความเหมาะสมในการจัดสร้าง เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม ควบคุมงานก่อสร้าง ไปจนถึงการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โดยมีการลงนามในสัญญาร่วมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 (https://www.thaipr.net/general/516340 ) ซึ่งในวันเดียวกันนั้นทางบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ก็ได้มีการลงนามในสัญญาการควบคุมดูแลงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Contract) กับบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน เซน้ำน้อย จำกัด ด้วย (http://www.pnpclaos.com/index.php/en/project/project-in-brief ) นอกจากนี้หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เขื่อนแตกนักวิชาการและสื่อมวลชนบางสำนักเข้าไปสืบค้นข้อมูลรายงาน EIA โครงการเขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย บนหน้าเว็บไซต์ของบริษัท TEAM แต่ไม่ปรากฏรายงาน EIA ซึ่งบริษัทเป็นผู้จัดทำขึ้นในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวแต่อย่างใด ( https://goo.gl/ZWiH1c ) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความโปร่งใสและไม่อาจตรวจสอบได้ในกรดำเนินงานของบริษัท อย่างไรก็ตามสามารถสืบค้นรายงาน EIA ของโครงการนี้ได้บนหน้าเว็บไซต์ของบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน เซน้ำน้อย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ดำเนินโครงการ ( https://goo.gl/aSeVMG ) ซึ่งอาจขัดแย้งกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของบริษัท ในหมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ( https://www.teamgroup.co.th/th/code-of-conduct/ ) ในส่วนความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น บนหนาเว็บไซต์ของกลุ่มบริษัท TEAM ได้ปรากฏเนื้อหาเหี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม จากเนื้อหาที่ปรากฎชี้ให้เห็นว่าจะเน้นไปที่การทำกิจกรรมแบบ CSR ต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนด้านการศึกษา การให้ความรู้สู่เยาวชน การจัดทำหนังสือ การจัดสัมมนาส่งต่อความรู้จากมืออาชีพสู่สาธารณะ โดยร่วมมือกับพันธมิตร องค์กรการกุศลอื่นๆ เช่น มูลนิธิกลุ่มทีมรวมใจ สภากาชาดไทย ในการบำเพ็ญประโยชน์ แบ่งปันน้ำใจ โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญด้านการศึกษาแก่เยาวชนอนาคตของชาติ การปลูกป่า ( https://www.teamgroup.co.th/th/csr-background/ ) ไม่ได้กล่าวถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และต่อผู้ได้รับผลกระทบในมิติที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาที่บริษัทเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ แม้ว่าภายในเว็บไซต์ของบริษัทจะมีส่วนที่กล่าวถึงนโยบายการกำกับกิจการดูแลกิจการที่ดี โดยอธิบายผ่านคู่มือนโยบายการกำกับกิจการดูแลกิจการที่ดี โดยปรากฏเนื้อหาที่พูดถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในส่วนของหมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหมวดที่ 6 จริยธรรมทางธุรกิจ ต่อก็เป็นการอธิบายอย่างกว้าง เช่น  ในส่วนหมวดที่ 3 มีส่วนที่กล่าวว่า “ให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมใกล้เคียงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม รวมถึงให้การสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน ตลอดจนพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนและสังคม เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยพิจารณาตามความเหมาะสม” และหมวดที่ 6 ที่กล่าวว่า “1.​ ประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และดำเนินงานธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ​ทั้งกฎหมายจรรยาบรรณ และมุ่งมั่นทำความดีต่อบุคคล กลุ่มชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม” (https://www.teamgroup.co.th/th/code-of-conduct/ ) แต่หากพิจารณาจากความรับผิดชอบของบริษัทหลังเหตุการณ์เท่าที่พบข้อมูลที่ปรากฏในหน้าสื่อพบว่าบริษัทได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปยังพื้นที่ที่เกิดเหตุหลังจากเหตุการณ์ (https://www.hoonsmart.com/archives/17324 ) แต่ก็ยังไม่พบว่าได้มีการแสดงความรับผิดชอบอื่นใด เช่น

0 comments on “ประเด็นสำคัญและธรรมาภิบาลความรับผิดชอบ: กรณี เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย แตก

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: