เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรด้านกฎหมายระหว่างประเทศโดยคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) และกลุ่มจับตาสิทธินักกฎหมายแคนาดา (Lawyer’s Rights Watch Canada: LRWC) ได้มีความเห็นในคดีนี้ผ่านการส่งหนังสือเพื่อนศาล (Amicus Curiae Brief) ไปยังศาลจังหวัดนครปฐมได้ให้ความเห็นว่า การบังคับใช้บทลงโทษที่รุนแรง อาทิโทษจำคุกหรือโทษปรับเป็นจำนวนเงินที่สูงต่อผู้สื่อข่าวเพียงเพราะการรายงานข่าวที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะผ่านช่องทางออนไลน์ จะทำให้เกิด “ความหวาดกลัว” ต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องคุ้มครองตามพันธกรณีทางกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงบรรดาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีวัตถุประสงค์ของผู้ทำความเห็นต่อบันทึกทางกฎหมายนี้มีความมุ่งหมายเพื่อชี้แจงต่อศาลถึงเนื้อหาและขอบเขตของพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและในข้อมูลข่าวสาร พร้อมกล่าวสรุปว่าขอให้ศาลยึดแนวทางการตีความกฎหมายประเทศไทยในทางที่สอดคล้องกับพันธกรณีกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
“…ผู้ทำความเห็นขอกราบเรียนต่อศาลว่าไม่มีบุคคลใดที่ควรรับผิดทางอาญาจากฐานความผิดหมิ่นประมาท และบุคคลต่างๆควรได้รับการคุ้มครองจากการดำเนินคดีที่ส่งผลเป็นการจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การเข้าถึงข้อมูล และกิจกรรมต่างๆของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้สื่อข่าว การกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทไม่ว่าจะทางอาญาหรือทางแพ่งที่เป็นอุปสรรคต่อสิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกนั้น ถ้าไม่สอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย จำเป็น และได้สัดส่วน อย่างเคร่งครัด ถือเสมือนว่าเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” เนิ้อหาในหนังสือเพื่อนศาลระบุ

อ่านจดหมายเพื่อนศาลฉบับเต็มภาษาไทยได้ที่ด้านล่าง
0 comments on “ICJ และ LRWC ยื่นจดหมายเพื่อนศาล ‘คดีเหมืองไทยในพม่า’ ฟ้อง ‘อดีต บก. GreenNews’”