myanmar report

ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา

ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา

สหรัฐอเมริกายังไม่ได้ดำเนินการคว่ำบาตรแหล่งที่มาเงินตราต่างประเทศของคณะเผด็จการทหารเมียนมา รายได้จากโครงการก๊าซนอกชายฝั่งของเมียนมา ส่วนหนึ่งเพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของไทย การวิเคราะห์ของเรายืนยันว่าสิ่งที่พวกเขาหวาดกลัวจะไม่เกิดขึ้น ในปี 2566 ประเทศไทยตั้งเป้าว่าพวกเขาจะสร้างความมั่นคงทางพลังงานได้มากกว่าปี 2565 ที่ผ่านมา ตรงกันข้ามกับข้อมูลที่บิดเบือนที่แพร่กระจายโดยบริษัทน้ำมันและก๊าซที่ดำเนินงานในเมียนมาร์ แม้ว่าการคว่ำบาตรรายได้จากก๊าซจะนำไปสู่การยุติราคาไฟฟ้าก็ตาม การเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ประเทศต่างๆ เลิกใช้ก๊าซจากรัสเซียเพื่อหลีกเลี่ยงการระดมทุนอย่างโหดร้ายในยูเครน

รายได้จากก๊าซถือเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดที่คณะเผโจการทหารสามารถใช้จ่ายและเข้าถึงได้ ในช่วงต้นของการรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คณะเผด็จการทหารได้เข้าควบคุมการไหลของรายได้ในบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งเมียนมา หรือ MOGE ที่ซึ่งรัฐบาลเมียนมาได้เก็บจัดเก็บรายได้จากโครงการก๊าซนอกชายฝั่งของประเทศที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลและขณะนี้คณะเผด็จการทหารกำลังใช้รายได้เหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง รายได้ส่วนใหญ่จากโครงการก๊าซเหล่านี้มาจากการส่งออกก๊าซไปยังประเทศไทยและจีน สหรัฐอเมริกาตระหนักดีว่ารายได้จากก๊าซได้สร้างความมั่งคั่งให้กับคณะเผด็จการทหารที่นำไปสู่การปราบปรามประชาชนชาวเมียนมาจนถึงแก่ชีวิต การพุ่งสูงขึ้นของราคาพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ทำให้ราคาก๊าซต่อหน่วยที่ ปตท. ในฐานะผู้ซื้อก๊าซจ่ายให้กับเมียนมานั้นเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 65 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่ารายได้จากก๊าซที่ถูกยึดมาอย่างผิดกฎหมายโดยคณะรัฐประหารนั้นอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

บริษัทก๊าซข้ามชาติหลายแห่งรวมทั้ง กลุ่ม ปตท. เชฟรอน และพอสโคยังคงเพิกเฉยต่อทางเลือกในทางปฏิบัติในการกำจัดเพื่อเบี่ยงเบนรายได้เหล่านี้ แทนที่จะปฏิบัติต่อคณะรัฐประหารเมียนมาในฐานะรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับและมีสิทธิในการเป็นผู้รับเงินรายได้เหล่านี้โดยถูกต้องชอบธรรม รัฐบาลสหรัฐฯ ได้รวมเอาการสมรู้ร่วมคิดของกลุ่มบรรษัทเหล่านี้ในอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติด้วยการไม่ปฏิบัติตามกลุ่มประเทศผู้นำของสหภาพยุโรปในการคว่ำบาตรรายได้จากก๊าซและยอมจำนนต่อแรงกดดันจากเหล่าล็อบบี้ยิสต์ในบริษัทเชฟรอนให้นิ่งเฉย บริษัทก๊าซและเจ้าหน้าที่ของรัฐสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงานของไทยเพื่อเป็นเหตุผลในการตัดสินใจที่จะอนุญาตให้คณะเผด็จการทหารเมียนมาสามารถเข้าถึงรายได้เหล่านี้ต่อไปได้

EarthRights International (ERI) ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ในเดือนกันยายน 2564 โดยระบุว่าความมั่นคงทางพลังงานของไทยไม่ได้ขึ้นอยู่กับก๊าซจากเมียนมาและไม่น่าเป็นไปได้ที่การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ หรือการกระจายรายได้จะนำไปสู่การหยุดผลิตก๊าซ แต่บทวิเคราะห์ในปี 2564 ของเราสรุปว่าประเทศไทยมีความยืดหยุ่นสูงต่อภาวะชะงักงันทางพลังงานอันเนื่องมาจากกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองที่สูงมาก อีกทั้งยังมีความสามารถในการสับเปลี่ยนเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าก๊าซและกำลังการผลิตนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG จำนวนมากที่ยังไม่ได้ใช้งาน

ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงานมากยิ่งขึ้น ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 สถานีนำเข้า LNG หนองแฟบได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กำลังการผลิตนำเข้า LNG ของไทยเพิ่มขึ้น 65 เปอร์เซ็นต์  กำลังการผลิตของหนองแฟบเพียงอย่างเดียวเกินกว่าการนำเข้าทั้งหมดจากเมียนมาร์อย่างน้อยร้อยละ 50  หมายความว่าแม้ว่าการนำเข้า LNG ของไทยจะถึงจุดสูงสุดในปี 2565 แต่ก็ยังมีกำลังการผลิตที่ไม่ได้ใช้งานอย่างเพียงพอที่จะทดแทนก๊าซจากเมียนมา ทั้งยังมีน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำรองเพิ่มเติม?  การที่มีกำลังการผลิต LNG ล้นเกินของไทยนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมของไทยสำหรับการผลิตก๊าซธรรมชาติในเมียนมาและในประเทศไทยเองที่คาดว่าจะลดลง และยังตอบโจทย์ความความหวังของไทยที่จะเป็นศูนย์กลาง LNG ของภูมิภาค

สมรรถนะในการสับปเลี่ยนเชื้อเพลิงของไทยแสดงให้เห็นจากโรงไฟฟ้าที่สามารถเปลี่ยนจากก๊าซเป็นน้ำมันเจาเพื่อลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากพังงานโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้การใช้ก๊าซในภาคไฟฟ้าของไทยลดลงร้อยละ 7 และด้วยสาเหตุจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นเองก็ได้ส่งผลให้รัฐบาลไทยยืดอายุการใช้งานถ่านหินในภาคการผลิตและความมั่นคงด้านไฟฟ้าของไทยออกไปอีกครั้ง

 ในปี 2565 ราคาพลังงานในไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 32% เป็นผลมาจากวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลก หากประเทศไทยนำเข้า LNG เข้ามาแทนที่ก๊าซจากเมียนมา ราคาพลังงานในประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 9% หากเปรียบเทียบกับประเทศเยอรมนี ขณะที่เยอรมันเลิกใช้ก๊าซจากรัสเซียเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งด้านเงินทุนและอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในยูเครนทำให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นถึง 139 เปอร์เซ็นต์

โดยสรุปแล้ว ประเทศไทยจะยังคงมีความมั่นคงทางพลังงานเพียงพอที่จะต้านทานการลดการนำเข้าก๊าซจากเมียนมาและสามารถทำได้ด้วยต้นทุนเพียงเศษเสี้ยวของประเทศที่เลิกใช้ก๊าซจากรัสเซีย

**เนื้อหาในบทความนี้แปลจากรายงานสรุปของ EarthRights Internaional (ERI) ชื่อ “MINIMAL IMPACT: THE EFFECTS ON THAILAND’S ENERGY SECURITY OF DISRUPTING MYANMAR GAS IMPORTS” ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม 2566

อ่านต้นฉบับได้ที่บทความด้านล่าง

0 comments on “ความกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิด: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจากการขัดขวางการนำเข้าก๊าซจากเมียนมา

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: