เรียน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ผู้อำนวยการ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมาโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นระยะเวลา 2 เดือนแล้ว การยึดอำนาจครั้งนี้ได้นำมาสู่การจับกุม คุมขังนักการเมือง นักกิจกรรมทางการเมือง สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาสังคม นักศึกษา ประชาชนชน ที่ออกมาแสดงอารยะขัดขืน (Civil Disobedience Movement: CDM) ทั่วประเทศ และมีผู้เสียชีวิตทั้งเด็ก เยาวชนและประชาชนจำนวนมาก ดังที่ปรากฏรายงานตามสำนักข่าวต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากลอย่างร้ายแรง ตามรายงาน ณ วันที่ 25 มีนาคม 2564 ขององค์กรให้ความช่วยเหลือนักโทษการเมืองในเมียนมา ระบุว่าขณะนี้มีผู้ที่ถูกจับกุมสะสม นับแต่มีการรัฐประหารรวมแล้ว กว่า 2,981 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 320 ราย และมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น
สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา ท าให้หลายประเทศทั่วโลก ได้ออกแถลงการณ์ ประณาม และร่วมกันคว่ำบาตรทางการค้า การลงทุน และห้ามนักธุรกิจของประเทศตนทำการค้าที่เกี่ยวเนื่องกับกองทัพเมียนมา ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญของเมียนมายาวนาน จากรายงานสถิติด้านการลงทุนของหน่วยงานที่ดูแลการอ านวยความสะดวกด้านการลงทุนของเมียนมา (Directorate of Investment and Company Administration: DICA) ระบุ ณ เดือนมกราคม 2564 ว่าไทยอยู่ในอันดับ 6ของการลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาตามกฎหมายการลงทุนของเมียนมา (Myanmar Investment Law) และอยู่ในอันดับ 3 จากการลงทุนตามกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone Law) ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างมีนัยสำคัญ และแม้จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารกลับมีข่าวว่ารัฐบาลไทยและบริษัทของไทยบางกลุ่ม มีความพยายามผลักดันโครงการบางโครงการต่อไป อย่างไม่ค านึงสถานการณ์การเมืองและการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ซึ่งเป็นท่าทีที่ไม่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของประชาชนชาวเมียนมาที่ต้องการให้ธุรกิจต่างชาติหลีกเลี่ยงการลงทุนร่วมกับกองทัพในเวลาเช่นนี้อีกทั้งอาจขัดต่อหลักการชี้แห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principle on Business and Human Rights: UNGP) ที่
ทางประเทศไทยได้ประกาศและมีมติคณะรัฐมนตรีรับรอง จนน าหลักการมาปรับใช้และนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกาศใช้เมื่อปลายปี พ.ศ.2562
พวกเรา ในนามคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch
Coalition) ซึ่งติดตามการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมจากการลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐ องค์กรภายใต้รัฐ และรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปฏิบัติดังนี้
- ขอเรียกร้องให้ทางรัฐบาลไทย ในฐานะตัวแทนประชาชนไทยประกาศระงับการให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงิน และการลงทุนระหว่างรัฐในประเทศเมียนมา จนกว่าเหตุการณ์จะสงบและมี
รัฐบาลที่มาาจากการเลือกตั้งและถูกต้องชอบธรรมตามครรลองประชาธิปไตย - ขอเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย (กลต.) และส านักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกลไกการกับดูแลด้านการธนาคารและการลงทุน กา กับการดา เนินธุรกิจของสถาบันการเงินและกลุ่มบริษัทต่าง ๆที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงบริษัทที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติตามนโยบายการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ดังทสองหน่วยงานได้ประกาศหลักการธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGP on BHR) เป็ นแนวทางปฏิบัติขององค์กร โดยเฉพาะกรณีสถาบันการเงนิของไทยที่ได้มีการลงนามร่วมใน “แนวทางด้านการให้สินเชื่อเพื่อความย่ังยืน” (Responsible Lending Guideline) โดยสมาคมธนาคารไทยและธนาคารพานิชย์ 15 แห่ง เมื่อวันที่13 สิงหาคม 2562 เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปล่อยเงินกู้และการลงทุนของกลุ่มบริษัทไทยเข้าไปมีส่วนร่วมกับกองทัพในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนเมียนมาในขณะนี้ - ขอเรียกร้องให้สำนักงานความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องคก์ารมหาชน)
และกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พิจารณาระงับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการในโครงการต่าง ๆ ออกไป โดยเฉพาะโครงการเงินกู้เพื่อความช่วยเหลือในการสร้างถนนเชื่อมต่อ 2 ช่องทางจากชายแดนไทย – เมียนมาที่ด่านพุน้ำร้อน จ. กาญจนบุรีถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย จำนวน 4,500 ล้านบาท ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ - ขอเรียกร้องให้หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนในไทย ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีประกาศอย่างเป็นทางการ เพื่อกำกับบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจให้ปฏิบัติตามหลักการของสหประชาชาติและข้อเสนอในแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่1 (พ.ศ. 2562 – 2565) รวมถึงบทบาทการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ของไทยทที่อาจส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาอย่างต่อเนื่อง - ขอให้รัฐบาลไทยประกาศจุดยืนเคียงข้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ตลอดจนไม่ให้การรับรองคณะรัฐประหารกองทัพเมียนมาเป็นรัฐบาล
พวกเราหวังว่าหน่วยงานจะให้ความสำคัญกับข้อเรียกร้องต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อการสร้างมาตรฐานและจุดยืนด้านการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจของไทย และเป็นการแสดงออกอย่างจริงใจของรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศเมียนมาในคราเดียวกัน หากท่านได้รับเอกสารฉบับนี้ ขอให้ท่านตอบกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่อยู่ข้างต้นภายในระยะเวลา 15 วัน พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือจากท่าน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณาดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ




0 comments on “เรียกร้องให้รัฐบาลไทย รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการลงทุนและการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ต่อธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมา เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน”