Dams news

ชาวลาวที่ประสบภัยเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยยังไม่ได้ค่าชดเชย-อยู่อย่างลำบาก ส่วนใหญ่หนีออกจากศูนย์พักพิงไปสร้างบ้านเรือนเอง

ลงเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563

เข้าถึงต้นฉบับได้ที่ สำนักข่าวชายขอบ https://transbordernews.in.th/home/?p=24953&fbclid=IwAR1XIbwUjLnhxsh7xQjsW7UiG6EA46LcXT3cT2BNYwRn8cuywKg-258A4zo

สำนักข่าววิทยุเอเชียเสรีรายงานว่า(23/04/2020) ผู้รอดชีวิตจากเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยแตกพังเมื่อปี 2561 ต้องอยู่ในศูนย์อพยพมากว่า 2 ปีอย่างลำบาก แม้มีข่าวว่ารัฐบาลลาวและบริษัทได้สัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยและย้ายให้ไปอยู่ในบ้านและที่ดินจัดสรรและบ้านที่สร้างให้ใหม่ แต่ขณะนี้ความช่วยเหลือนั้นก็ยังไม่เกิด ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ยังอยู่ในบ้านพักชั่วคราวที่มีสภาพร้อน น้ำใช้ไม่สะอาดและสุขอนามัยไม่สะอาด ส่วนบางคนที่ตัดสินใจย้ายออกจากที่พักชั่วคราวเองก็ต้องใช้เงินตัวเองในการสร้างบ้านใหม่

ผู้ได้รับผลกระทบรายหนึ่งที่ไม่ประสงค์จะออกนาม อยู่ศูนย์อพยพดงบาก ในเมืองสนามไซย กล่าวว่า “บ้านชั่วคราวมันอยู่ไม่ได้ เพราะร้อนมาก สกปรก กลิ่นเหม็นมาก และขาดแคลนน้ำใช้ พวกเรากลัวมากว่าจะเกิดโรคระบาด ห้องน้ำก็สภาพแย่ มันเต็มและไม่เคยมีการสูบออกเลย เจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ได้มาตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่เลยชาวบ้านหลายคนที่อยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านดงบากตัดสินใจหนีออกไปศูนย์แห่งนี้”

“คนที่ออกไป ก็ไปสร้างกระท่อมหรือบ้านหลังเล็กๆอยู่ในที่ดินที่รัฐจัดสรรให้เป็นค่าชดเชย หรือกลับไปยังที่ดินทำกินเดิมของพวกเขาที่ถูกน้ำท่วม หรือบางคนก็ต้องกลับไปยังบ้านหลังเก่าในหมู่บ้านเดิมที่ประสบภัย “เขากล่าว

เมื่อปีที่ 2562 หน่วยงานรัฐได้จัดสรรที่ดินขนาด 20×40 เมตร ให้กับแต่ละครอบครัว และรัฐจะช่วยสร้างบ้านให้บนที่ดินนั้น แก่ชาวบ้านกว่า 4,000 ครอบครัว แต่ตอนนี้มีเพียงบ้าน 36 หลังที่สร้างแล้วเสร็จให้กับครอบครัวที่ยากจนที่สุดเท่านั้น
ส่วนผู้ได้รับผลกระทบบางส่วนที่พอจะมีเงินก็ต้องไปซื้อไม้และสร้างบ้านของตัวเอง เดิมในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านดงบาก มีคนอยู่จำนวน 68 ครอบครัว ตอนนี้เหลือเพียง 8 ครอบครัวเท่านั้น โดยสภาพการเป็นอยู่ของศูนย์พักพิงชั่วคราวของผู้ประสบภัย 5 แห่งก็มีสภาพและสถานการณ์ไม่แตกต่างกัน

ผู้ประสบภัยอีกรายกล่าวว่า “เราอยู่ลำบากมากในศูนย์พักพิงแห่งนี้ นอกจากปัญหาเรื่องความร้อน ไม่สะอาดและขยะมากมายแล้ว ปัญหาอีกอย่างคือ ข้าวที่เราได้รับแจกมันแข็งมาก เมื่อปลายปีที่แล้ว ภาครัฐบอกเราว่า เราจะได้รับข้าวใหม่ แม้มันจะมีกลิ่นบ้างแต่ก็กินได้ เราไม่มีทางเลือกที่ต้องกินข้าวเหมือนข้าวให้นักโทษ ชาวบ้านหลายคนต้องขายขาวแข็งๆนี้ให้กับคนทำเหล้าขาวและซื้อข้าวที่แพงกว่ากินแม้จะได้ปริมาณที่น้อยลงก็ตาม”
“เจ้าหน้าที่รัฐบอกเราว่า ให้ชาวบ้านรวมเงินกันเพื่อจ้างบริษัทมาสูบส้วมออก แต่ปัญหาคือเราไม่มีเงิน ห้องน้ำเหม็นมากๆ หลายคนต้องไปเข้าป่าแทน” เขากล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ผู้ประสบภัยคนดังกล่าวยังเล่าว่า รัฐบาลจ่ายเงินค่าชดเชยช้ามาก และต้องให้มีการร้องขอถึงจะจ่าย

“เราควรได้รับเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือนๆละประมาณ 400 บาท ต่อคน และ 20 บาท ต่อวัน แต่เงินนั้นมาช้ามาก เราถามเจ้าหน้าที่ระดับสูง เขาบอกว่า จ่ายผ่านเจ้าหน้าที่ระดับล่างมาแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ระดับล่างหรือส่วนท้องถิ่นกลับว่า เขายังไม่ได้รับเงิน เขาโกหกเรา”

ชาวบ้านอีกรายระบุว่า ชาวบ้านที่อยู่ในที่พักพิงชั่วคราวบางคนต้องเป็นหนี้ เพราะว่าการจ่ายเงินที่ล่าช้าของภาครัฐ

“ครอบครัวฉันต้องยืมเงินประมาณ 700 บาท จากคนที่มีเงินเพื่อใช้อยู่กิน และจะจ่ายเงินคืนตอนได้รับเงินเดือนจากภาครัฐ และถ้าเขาจ่ายเราทุกเดือน เราก็ไม่ต้องไปยืมและเป็นหนี้ “ นอกจากนี้ชาวบ้านที่เจ็บป่วยในที่พักพิงก็ต้องมียืมเงินเช่นกน

ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยังหน่วยงานรัฐท้องถิ่นในเมืองสนามไซย นายบุนโฮม พมมาแสน หัวหน้าส่วนการปกครองเมืองสะหนามไซ กล่าวว่า เรายอมรับว่าชาวบ้านอยู่กันอย่างลำบากและมีปัญหาขาดแคลนน้ำ เพราะเป็นช่วงหน้าแล้ง ชาวบ้านใช้น้ำเยอะ ปั้มน้ำก็ทำงานหนักและพัง เราก็ไปซ่อมหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ถือว่าขาดแคลนน้ำมากในศูนย์พักพิง”

นายบญโฮมกล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลมีแผนที่จะสร้างบ้านเรือนให้กับชาวบ้านที่ออกไปจากศูนย์พักพิงชั่วคราว “เราจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านแต่ละครอบครัวและแนะนำว่า พวกเขาสามารถสร้างบ้านหลังเล็กๆ ในส่วนท้ายๆของที่ดิน เลี่ยงการสร้างในส่วนหน้าของที่ดินเพราะว่าภาครัฐจะมาสร้างบ้านถาวรให้ และ ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับเงินค่าชดเชยครึ่งหนึ่งในเร็วๆนี้ เราพึ่งเซ็นสัญญากับบริษัทเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินและจำนวนคนที่จะได้รับผลค่าชดเชยและหวังว่า จะมีการจ่ายค่าชดเชยทั้งหมดหลังจากสถานการณ์ไวรัส โควิท 19 ผ่านไป”

0 comments on “ชาวลาวที่ประสบภัยเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยยังไม่ได้ค่าชดเชย-อยู่อย่างลำบาก ส่วนใหญ่หนีออกจากศูนย์พักพิงไปสร้างบ้านเรือนเอง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: