Dams news

นักวิชาการเวียดนามชี้เขื่อนหลวงพระบางไม่คุ้มค่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อมต่อเวียดนาม และประเทศลุ่มน้ำโขง

ลงเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563

สามารถเข้าถึงเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ สำนักข่าวชายขอบ ตามลิ้งค์นี้ https://transbordernews.in.th/home/?p=24880&fbclid=IwAR2KrBrw3sI5dxqXM2gaNO3UPw419oPyIMnLqLndrpbINR9wpS0z1HESDSg

นายหวิน ดัง อา ธิ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมชาวแคนาดา ได้เขียนบทความวิเคราะห์กรณีโครงการเขื่อนหลวงพระบาง ลงในเว็บไซต์ nguoidothi.net ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาวแจ้งต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ให้มีการจัดกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า (PNPCA) ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ. 2538 ซึ่งโครงการเขื่อนหลวงพระบาง มีจุดก่อสร้างอยู่บนแม่น้ำโขง ห่างจากตัวเมืองหลวงพระบาง 25 กิโลเมตร มีกำลังการผลิตติดตั้ง 1,460 เมกะวัตต์ ผู้พัฒนาโครงการคือ บริษัทหลวงพระบางเอเนอยี่จำกัด โดยบริษัท PretoVietnam(PVPower) ถือหุ้น 38 % , บริษัท PT Co.Ltd(Laos) ถือหุ้น 37 % และรัฐบาลลาว ถือหุ้น 25 % และได้รับสิทธิ์พัฒนาโครงการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550

นายหวิน ระบุว่า ได้วิเคราะห์ประมาณการต้นทุนและราคาขายไฟฟ้า ซึ่งมีผลต่อความคุ้มทุนของโครงการเขื่อนหลวงพระบาง ในกรณีที่ผู้ซื้อไฟฟ้าคือประเทศไทยและเวียดนาม โดยพบว่ารายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหลวงพระบาง ซึ่งได้ส่งให้แก่ MRC เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2562 ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเงินลงทุน และไม่มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งมีการออกแบบและใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกัน โดยที่ออกแบบโดยบริษัท Poyry เช่นเดียวกัน พบว่า หากเขื่อนหลวงพระบางจะขายไฟฟ้าให้กับเวียดนาม ต้องสร้างสายส่งไฟฟ้าจากเขื่อน ซึ่งมีระยะทางไกลเป็นสองเท่า หากเทียบกับสายส่งที่จะสร้างไปยังประเทศไทย และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสายส่งก็สูงกว่าถึง 312 ล้านเหรียญสหรัฐ การสูญเสียไฟฟ้าระหว่างขนส่งก็สูงกว่าสองเท่า โดยคิดเป็น 6 % (หากส่งมาไทย คิดเป็น 3 %) นั่นเท่ากับว่า ปริมาณไฟฟ้าเชิงพานิชย์ก็จะลดลงตามไปด้วย

กำลังการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนไซยะบุรีคิดเป็น 88 % ของโครงการเขื่อนหลวงพระบาง แต่ศักยภาพการผลิตของเขื่อนหลวงพระบางจะสูงกว่าไซยะบุรี 15 % อย่างไรก็ตาม โครงการเขื่อนหลวงพระบางมีการนำเทคโนโลยีที่น้อยกว่าเขื่อนไซยะบุรี นั่นหมายถึงว่า การแข่งขันทางราคาและประสิทธิภาพทางการเงินไม่เทียบเท่ากับเขื่อนไซยะบุรี

ทั้งนี้จากข้อมูลของ นายโฮ กง คี ประธานกรรมการบริษัท PV Power ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์การลงทุนในเวียดนาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พศ.2562 ระบุว่า มีการศึกษาตลาดไฟฟ้าของโครงการเขื่อนหลวงพระบาง 2 ทางคือ ขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย จะมีการลงทุน 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ และขายไฟฟ้าให้กับเวียดนามจะต้องลงทุน 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อพิจารณาตุ้นทุนการก่อสร้างเขื่อนที่ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีนั้น ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (กรณีขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย) และ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (กรณีขายไฟฟ้าให้กับเวียดนาม)

เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าไฟฟ้าระหว่างเขื่อนไซยะบุรีกับเขื่อนหลวงพระบางที่ประเทศไทยต้องรับซื้อจะมีราคาระหว่าง 7.5-8.6 เซนต์/กิโลวัตต์ และราคาซื้อของเวียดนามคือ 8.6-9.6 เซนต์/กิโลวัตต์

ขนะนี้ประเทศไทยซื้อไฟฟ้าเขื่อนไซยะบุรีในราคา 6.6 เซนต์/กิโลวัตต์ ตามสัญญาสัมปทาน 29 ปี จากการคาดการณ์ราคาค่าไฟฟ้าของโครงการเขื่อนหลวงพระบาง ไทยจะต้องรับซื้อไฟฟ้าสูงกว่าเขื่อนไซยะบุรีเพิ่มขึ้นอีก 14-30 % ทั้งนี้รายงานระบุว่าเขื่อนไซยะบุรีถือเป็นหนึ่งในโครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เนื่องจากบริษัทลูกของกฟผ.ถือหุ้น 12.5% และมีธนาคารพาณิชย์ของไทย 6 แห่งเป็นแหล่งเงินกู้แก่โครงการ นอกจากนั้น กฟผ. ยังมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าในลาว โดยมีบริษัทลูกที่ไปลงทุนถือหุ้น อาทิ เขื่อนน้ำเทิน 1 (ถือหุ้น 25%) น้ำงึม 2 (ถือหุ้น 35%) น้ำเงี้ยบ 1 (30%) และเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย (25%) บทวิเคราะห์ระบุว่าไม่มีเหตุผลที่จะต้องซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนหลวงพระบาง ซึ่งมีราคาสูงกว่าปกติ 14-30 % เนื่องจากไม่ใช่โครงการของบริษัทลูกของกฟผ.เข้าไปลงทุนร่วมหรือไม่?

บทวิเคราะห์ระบุต่อไปว่าขณะที่แผนพัฒนาพลังงาน ของไทยที่ออกมาเมื่อเดือนมกราคม ปี 2562 ระบุว่า จะมีการลดการนำเข้าไฟฟ้าจากลาว 50 % เหลือเพียง 5,857 เมกะวัตต์ในปี 2593 ปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือ ราคาของก๊าซธรรมชาติและพลังงานทางเลือกลดลงอย่างรวดเร็วกว่าการคาดการณ์ ขณะที่การก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงแต่ละแห่งก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7 ปี ซึ่งเห็นได้ชัดว่า โครงการเขื่อนไฟฟ้าแม่น้ำโขงต้องแข่งขันอย่างหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลไทยต้องตัดสินใจเลือกให้ดี

บทวิเคราะห์ระบุว่า ราคาของไฟฟ้าจากเขื่อนหลวงพระบางให้เวียดนามอยู่ที่ 8.6-9.6 เซนต์/กิโลวัตต์ ขณะที่รูปแบบราคาไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากำหนดไว้เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาคือ ตรึงราคารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนต่างๆไว้ไม่เกิน 4.8 เซนต์/ต่อกิโลวัตต์ ดังนั้นจะเห็นว่าราคาของเขื่อนหลวงพระบางนั้นคาดว่าจะสูงกว่าราคาที่รัฐกำหนดไว้ 1.8-2 เท่า สอดคล้องกับที่ประธานของบริษัท PV Power ระบุว่า “โครงการดี” ที่จะขายไฟฟ้าให้กับเวียดนามในราคา 9.38 เซนต์/กิโลวัตต์ มูลค่าตอบแทนการลงทุนของโครงการอยู่ที่ 9%

“อย่างไรก็ตาม PV Power ต้องสร้างกลไกเฉพาะกิจเพื่อเสนอต่อสำนักนายกรัฐมนตรี และอาจจะต้องทำกระบวนการปรึกษากับสภาแห่งชาติของเวียดนาม ในมุนมองของ PV power โครงการนี้ไม่มีประสิทธิภพและไม่ควรลงทุน” นายเคน ระบุ

แม้ว่าบริษัท PV power จะสามารถโน้มน้าวให้รัฐบาลเวียดนามและสภาแห่งชาติรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนหลวงพระบางได้ แต่โครงการนี้ต้องใช้เงินภาษีของคนเวียดนามในการให้รัฐบาลลาวและบริษัทมากถึง 62 %

บทวิเคราะห์ระบุในตอนท้ายว่า เมื่อพิจารณาบริบบทของตลาดไฟฟ้าและราคาค่าไฟฟ้าในลุ่มน้ำโขง และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโครงการเขื่อนหลวงพระบาง หากไทยและเวียดนามไม่รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้ โครงการก็ไม่มีทางได้เกิดแน่นอน และเมื่อไม่มีข้อสัญญาผูกมัดจากการซื้อไฟฟ้าทั้งกฟผ.และ การไฟฟ้าเวียดนาม ธนาคารต่างๆ ก็จะมีความเสี่ยงในการให้เงินลงทุนที่สูงถึง 70% แม้การไฟฟ้าของเวียดนามตัดสินใจรับซื้อซื้อไฟฟ้าจากโครงการหลวงพระบางในราคาสูงมาก ก็จะขัดกฎของกระทรวงอุตสาหกรรมของเวียดนาม บริษัท PV power ถือหุ้น 38 % บริษัทจะต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายมากถึง 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น บริษัท PV Power จะยอมเสียเงินมหาศาล โดยที่ไม่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่แน่นอนเช่นนั้นหรือ?

0 comments on “นักวิชาการเวียดนามชี้เขื่อนหลวงพระบางไม่คุ้มค่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อมต่อเวียดนาม และประเทศลุ่มน้ำโขง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: